วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 14.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   เนื่องจากอาคารที่เรียนจะทุบก่อสร้างใหม่ ซึ่งสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่จะมีการเรียนการสอนที่อาคารนี้ ดังนั้นจึงมีการจัดเก็บ และขนย้ายของหรือเอกสารต่างๆ อาจารย์จึงชี้แจงและแจ้งอาคารเรียนใหม่ที่นักศึกษาจะต้องไปเรียนในสัปดาห์หน้า 


   วันนี้อาจารย์สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่ตั้งแต่เริ่มต้นกิจกรรม จนจบกิจกรรมให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง และให้นักศึกษาเขียนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่ของตนเอง เพราะอาทิตย์หน้าอาจารย์จะให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาฝึกสอนหน้าห้องทีละคน ซึ่งในการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่จะต้องประกอบด้วยดังนี้
  ขั้นที่ 1 ขั้นพื้นฐาน
  ขั้นที่ 2 ขั้นการเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
  ขั้นที่ 3 ขั้นผ่อนคลาย
และกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะของฉันสอนเรื่อง  สัตว์ปีก








การประยุกต์ใช้

  - ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
  - ประยุกต์ใช้ในการบริหารร่างกาย
  - ประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมอื่นๆที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่ได้
  - ประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

การประเมิน

 ประเมินตนเอง
   วันนี้รู้สึกว่าตนเองมีความสุขในการเรียนมาก เข้าใจในเรื่องที่สอน ได้ใช้การคิดในการจัดสอนกิจกรรม
การเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่ในเเบบฉบับของตนเองตามที่อาจารย์ให้ออกแบบว่าจะสอนหน่วยอะไร เพื่อที่จะได้ออกมาฝึกสอนหน้าชั้นในสัปดาห์หน้า

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ให้ทำ มีการตอบโต้ร่วมกับอาจารย์ และมีความสนุกสนานในการเรียน

 ประเมินอาจารย์
   เนื่องจากวันนี้เป็นวันสุดท้ายในการเรียนการสอนวิชานี้ในอาคารแห่งนี้ อาจารย์จึงยุ่งในการเตรียมย้ายของ แต่อาจารย์ก็ยังสอน เพื่อที่จะให้นักศึกษาเรียนให้ทันห้องอื่นๆ 




วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9(สอนชดเชย)

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 12.30-14.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนเตรียมวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้มาทำเครื่องเคาะจังหวะ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนต่างๆ เช่น กล่อง กระป๋อง กะลา ขวดน้ำ และอื่นๆ แล้วนำมาทำร่วมกันเพื่อนในห้อง ซึ่งฉันนำกระปุกออมสินที่ไม่ใช้แล้วมาทำ





การประยุกต์ใช้

  -ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
  -ประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆได้
  -สามารถนำมาเป็นของเล่นสำหรับคนในครอบครัวและผู้อื่นได้

การประเมิน

 ประเมินตนเอง
   มีความสุข สนุกสนาน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะ ได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆในการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรม และพยายามประดิษฐ์ สร้างสรรค์ผลงานของตนเองให้ออกมาดี รวมทั้งได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของแต่ละคน

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์สอนสนุก เฮฮา เป็นกันเอง ไม่เครียด มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมาพร้อมเป็นอย่างดี


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 12.30-14.30 น.

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 14.30-17.30 น.



**สอบกลางภาควิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย**



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 12.30-14.30 น.

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 14.30-17.30 น.




**สอบกลางภาค**



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 14.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์ให้นักศึกษาบริหารสมอง โดยให้ทำท่าทางต่างๆตาม เพื่อเป็นการฝึกให้นักศึกษามีสมาธิมายิ่งขึ้น




   จากนั้นก็ให้ทำกิจกรรมการสอนการเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่ โดยการเคลื่อนไหวตามจังหวะการเคาะ โดยครั้งแรกอาจารย์ทำให้ดูก่อน แล้วให้นักศึกษาทำตาม 
หลังจากนักอาจารย์ให้จับกลุ่มกลุ่มละประเมิน 5-6 คน โดยให้เพื่อนหนึ่งคนสวมบทบาทสมมุติเป็นคุณครูและที่เหลือเป็นนักเรียน โดยคุณครูเป็นผู้สั่งและให้นักเรียนปฏิบัติตามโดยข้อตกลงที่ครูพูดมีดังนี้
-ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าวไปในทิศทางใดก็ได้ 1 ก้าว
-ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าวไปในทิศทางใดก็ได้ 2 ก้าว
-ถ้าคุณครูเคาะรัวๆ ให้เด็กๆ เคลื่อนที่ไปรอบๆห้องอย่างอิสระ
-ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ติดกัน ให้เด็กๆหยุดทันที
ซึ่งในการทำกิจกรรมนี้ ผู้ที่เป็นคุณครูจะต้องบอกกติกาให้ชัดเจาะ เคาะจังหวะให้เสียงในระดับเท่ากันทุกครั้ง และครูจะต้องเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเด็ก โดยเคลื่อนที่อยู่รอบรอบวงเพื่อให้มองเห็นเด็กได้ครบทุกคน



ตัวอย่างการทำเครื่องเคาะจังหวะจากวัสดุเหลือใช้




การประยุกย์ใช้

  - ประยุกต์ใช้ในการเรียนต่อไปในระดับสูง
  - นำมาเป็นความรู้ เพื่อการต่อยอดได้
  - ประยุกต์ใช้กับการสอนในอนาคต
  - สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารร่างกายต่อตนเองและผู้อื่นได้

การประเมิน

 ประเมินตนเอง
   มีความสนุกสนานในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และคุณครู

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อนๆในกลุ่มมีการปรึกษาหารือกันก่อนทำกิจกรรมทำให้ทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆในกลุ่ม

 ประเมินอาจารย์

   อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี สอนสนุก ไม่เครียด เฮฮา อบอุ่น ทำให้นักศึกษาตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก